อุบัติเหตุจากการจราจรนับวันจะเป็นปัญหาใหญ่ที่ก่อให้เกิดความสูญเสีย ทั้งในแง่ของทรัพย์สินและชีวิตมากขึ้นเป็นลำดับ แม้จะได้มีการรณรงค์ และกวดขันจับกุมผู้ที่ทำผิดกฎหมายอยู่แล้วก็ตาม สาเหตุใหญ่ ๆ ของ อุบัติเหตุต่าง ๆ ส่วนหนึ่งมาจากการขับรถขณะมึนเมาสุรา ในการป้องกันอุบัติเหตุเหล่านี้ จะใช้วิธีการตรวจจับผู้เมาสุราโดยใช้เครื่องมือตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากลมหายใจ ในการตรวจจับที่กระทำอยู่ในปัจจุบัน จะต้องใช้เครื่องมือวัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่ผลิตในต่างประเทศ ซึ่งจะต้องสั่งซื้อหรือนำเข้ามาในราคาแพง และมีความสิ้นเปลืองงบประมาณสูง
หน่วยวิจัยฟิสิกส์ประยุกต์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ทำการพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์มาตั้งแต่ปี 2546 โดยได้พัฒนาเครื่องมือวัดปริมาณแอลกอฮอล์รุ่น มช. 01- มช. 03 ต่อมาในปี 2548 ได้ทำการสร้างและพัฒนาเครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากลมหายใจแบบคัดกรอง ภายใต้ชื่อเรื่องของการประดิษฐ์ "เครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากลมหายใจแบบพกพา" ซึ่งการประดิษฐ์นี้เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากลมหายใจแบบพกพา ที่มีเซนเซอร์เป็นแบบเซมิคอนดัคเตอร์ออกไซด์ รวมถึงกระบวนการสอบเทียบเครื่องมือวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากลมหายใจ เพื่อให้สามารถพกพานำไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ทั่วไปได้อย่างสะดวก และสามารถคัดกรองผู้ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจเกินกว่าปริมาณที่กฎหมายกำหนดไว้ (ประเทศไทยกำหนดไว้ที่ 50 mg% BAC, Blood Alcohol Content)
นอกจากนั้น ในปี 2549 ห้องปฏิบัติการวิจัยฟิสิกส์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำการสร้างและพัฒนาเครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากลมหายใจแบบคัดกรองเพื่อใช้สำหรับพนักงานขับรถโดยสารหรือรถโดยทั่วไป ภายใต้ชื่อเรื่องของการประดิษฐ์ "เครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากลมหายใจอย่างละเอียดในย่าน 0-100 mg% BAC" ซึ่งเป็นการประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากลมหายใจแบบคัดกรองในรุ่นที่พัฒนาขึ้นมาจากเครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากลมหายใจแบบพกพา รวมถึงได้พัฒนากระบวนการสอบเทียบเครื่องมือวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากลมหายใจ เพื่อให้เหมาะสมกับการสอบเทียบสำหรับเครื่องรุ่นดังกล่าว ให้สามารถตรวจสอบพนักงานขับรถ โดยเน้นที่ตรวจสอบได้ตั้งแต่ 0 mg% BAC ขึ้นไป จนถึง 100 mg% BAC แสดงดังแผนผังในรูปที่ 1
โดยในปัจจุบัน หน่วยวิจัยฟิสิกส์ประยุกต์ ได้มีความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการพัฒนาจนถึงการทดสอบการใช้งานเครื่องมือตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ฯ ที่ได้สร้างขึ้น เช่น หน่วยงานตำรวจในภาคเหนือ กรมบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนบริษัทเอกชน เช่นบริษัท SCG Logistics จำกัด บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ ฯลฯ
Internet of Things สำหรับ Smart Farmer |
ระบบตรวจจับก๊าซ และการประยุกต์ใช้งาน |
การพัฒนาเครื่องมือวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากลมหายใจ |
โรคของผลไม้หลังเก็บเกี่ยว |
ทำไมเปิดไฟให้ต้นไม้ |
สะแล พืชพื้นบ้านที่มากด้วยคุณค่าทางโภชนาการ |
ความสับสนในสมุนไพรวงศ์ขิง |
Internet of Things สำหรับ Smart Farmer |
บทความทั้งหมด |