เป็นวิธีการที่ปรับปรุงจากการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน สามารถทำได้ไม่ยุ่งยาก โดยสามารถนำวัสดุที่มีในพื้นที่มาทำเป็นโรงเพาะ เช่น สร้างโรงเพาะด้วยโครงไม้ไผ่ ไม้รวก โดยตัวโรงเพาะจะต้องคลุมปิดด้วยพลาสติกทุกด้าน ภายในโรงทำเป็นชั้นวางก้อนเชื้อสองแถวๆละสามชั้น ระหว่างชั้นห่างกันประมาณ 30 ซม.
ขั้นตอนการเตรียมวัสดุเพาะ
ประกอบด้วยการเตรียมวัสดุเพาะคือฟางข้าว (สามารถใช้กากต้นถั่ว ขี้เลื่อย ทะลายปาล์มตอซังข้าวโพดที่ผ่านการหมัก มาใช้เป็นวัสดุเพาะได้เช่นกัน แต่ที่นิยมมักจะเป็นฟางข้าว เพราะผลผลิตเห็ดโคนน้อยหรือเห็ดถั่ว จากฟางเป็นที่ยอมรับในเรื่องของรสชาติจากผู้บริโภคมากกว่า) ฟางข้าวจะต้องผ่านการลวก โดยอาจจะใช้ถังน้ำมันเก่า 200 ลิตรแบ่งสี่ส่วนตัดออกหนึ่งส่วน ทำเตาในแนวนอน และทำพิมพ์หรือกระบะเพาะขนาด 30x30x60 ซม. ตัดฟางข้าวขนาดเท่ากับกระบะพิมพ์แล้วมัดเป็นก้อน นำฟางไปต้มหรือลวกในถังต้มน้ำเดือด (180-200 ลิตร) ที่เตรียมไว้ โดยเติมปุ๋ย 15-0-0 จำนวน 1-2 กก. ปุ๋ยยูเรีย46-0-0 จำนวน 0.5 กก. กากน้ำตาล 1 กก.รำละเอียด 1 กก. นำก้อนฟางลวก 5-10 นาทีแล้วนำขึ้นพักไว้ให้เย็นหรือทิ้งไว้ข้ามคืนโดยคลุมพลาสติกไว้ น้ำต้มที่เหลือจากการลวกฟางนำมาเจือจางด้วยน้ำ 1-2 เท่าเก็บไว้เป็นปุ๋ยเพื่อใช้ในการรดก้อนเชื้อเห็ดต่อไป
ขั้นตอนการเพาะเห็ด
ขั้นตอนการบ่มเชื้อ
ก้อนเชื้อที่เตรียมเสร็จแล้ว นำมาวางไว้ที่ชั้นภายในโรงเพาะสภาพภายในโรงเรือน ควรรักษาอุณหภูมิภายใน37 – 40 องศาเซลเซียส โดยให้มีความชื้นสัมพัทธ์ 75 – 90% ถ้าหากก้อนเชื้อแห้ง ให้รดน้ำโดยใช้บัวรดน้ำให้ทั่วจนชื้น โดยทั่วไปหลังจากนำก้อนเชื้อที่เตรียมเสร็จแล้วไปเก็บในโรงเพาะ จะใช้เวลาอีกประมาณ 6-7 วัน (ขึ้นกับสภาพอากาศในขณะนั้น) โดยระหว่างนี้คลุมโรงด้วยพลาสติกให้มิดชิดเพื่อให้เส้นใยเจริญเต็มก้อนเชื้อและพัฒนาเป็นดอกเห็ดและจะออกผลผลิตให้เก็บชุดแรกประมาณวันที่ 7-8 หลังการเพาะหลังจากเก็บผลผลิตชุดแรก ก้อนเชื้อเห็ดจะทยอยออกต่อไปให้เก็บได้อีกถึง 2-3 สัปดาห์โดยผลผลิตจะค่อยๆลดลง โดยเฉลี่ยก้อนเชื้อเห็ด 1 ก้อนสามารถให้ผลผลิตดอกเห็ดประมาร 0.8- 1 กิโลกรัม และราคาจำหน่ายหน้าโรงเพาะตั้งแต่ 80 – 120 บาทต่อกิโลกรัม.
โรคของผลไม้หลังเก็บเกี่ยว |
ทำไมเปิดไฟให้ต้นไม้ |
สะแล พืชพื้นบ้านที่มากด้วยคุณค่าทางโภชนาการ |
ความสับสนในสมุนไพรวงศ์ขิง |
Internet of Things สำหรับ Smart Farmer |
บทความทั้งหมด |